วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

อักษรแทนเสียง (Phonetic Glyphs)

อักษรแทนเสียง (Phonetic Glyphs)

อักษรแทนเสียง (Phonetic Glyphs) คือ อักษรภาพที่ใช้สำหรับแทนเสียงอ่าน อาจจะมีหรือไม่มีความหมายก็ได้ แบ่งออกเป็นสามชนิดคือ อักษรเสียงเดียว (Monoliterals) อักษรสองเสียง (Biliterals) และอักษรสามเสียง (Triliterals) การออกเสียงด้วยสัทอักษรในบล็อกนี้จะใช้ระบบของ Manuel de Codage (MDC) ท่านสามารถคลิกที่ลิงค์เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เนื่องจาก MDC เป็นระบบที่ใช้อักษรโรมันมาตรฐานบนแป้นพิมพ์ดีดมาแทนที่เสียงในภาษาอียิปต์โบราณ จึงสะดวกในการเขียนโดยไม่ต้องพึ่งฟอนต์หรืออักขระพิเศษอื่นๆ



อักษรเสียงเดียว (Monoliterals) คือ อักษรหนึ่งตัวแทนหนึ่งเสียง

เสียง /A/ "อ่า"
 
เสียง /i/ "ยิ" "ยะ"

อักษรสองเสียง (Biliterals) คือ อักษรหนึ่งตัวแทนเสียง 2 เสียง หรือเสียงพยัญชนะผสมสระหรือกึ่งสระก็ได้ 2 เสียง 



อักษรสามเสียง (Triliterals) คือ อักษรหนึ่งตัวแทนเสียง 3 เสียง หรือเสียงพยัญชนะผสมสระหรือกึ่งสระก็ได้ 3 เสียง

วิธีการอ่านออกเสียงอักษรอียิปต์โบราณ

เนื่องจากภาษาอียิปต์โบราณเป็นภาษาเขียนที่มีอายุยาวนานมาเกือบ 4000 ปี เวลาที่ผ่านไปทำให้ไม่สามารถระบุเสียงสระที่แท้จริงที่อยู่ระหว่างอักษรเหล่านี้ได้ นักอียิปต์วิทยาได้ตกลงกันว่า เพื่อให้สามารถอ่านออกเสียงภาษาอียิปต์โบราณได้อย่างคร่าวๆ จะมีการเติมเสียงสระเทียม /e/ (Mute e) (สระ "เอ" หรือ "เอะ" แล้วแต่สถานการณ์ ทำนองเดียวกับเสียง /e/ ในภาษาอังกฤษ) แทรกระหว่างอักษรสองเสียงและสามเสียง ส่วนอักษรที่เป็นสระอยู่แล้วสามารถใช้แทนเสียงสระได้เลย โดยไม่ต้องแทรกเสียง /e/ ดังนั้นวิธีการออกเสียงอักษรอียิปต์โบราณในบล็อกนี้จะยึดตามระบบนี้ โดยไม่คำนึงว่าเสียงในภาษาอียิปต์โบราณจริงๆ เมื่อสี่พันปีก่อนเป็นอย่างไร และถือว่าการออกเสียงระบบนี้เป็นการออกเสียงเพื่อเรียนรู้ภาษาอียิปต์โบราณ เช่น คำว่า /imen/ "ยิเมน" หมายถึง เทพอามุน ซึ่งท่านอาจจะเคยได้ยินเทพองค์นี้ว่า อามอน หรือ อาเมน ด้วยซึ่งก็คือเทพองค์เดียวกัน แต่เราไม่สามารถทราบว่าคนสมัยก่อนออกเสียงเทพองค์นี้จริงๆ ว่าอย่างไรแน่ แต่วิธีการนี้เราจะออกเสียงเทพองค์นี้ว่า /imen/ "ยิเมน" และถ้าท่านจะได้ยินคนอื่นออกเสียงว่า /amen/ "อาเมน" หรือ /amun/ "อามุน" ก็ไม่ถือว่าใครผิดเพราะอยู่ที่ความนิยมและการเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปด้วย ดังนั้นพระนามฟาโรห์องค์สำคัญที่ท่านรู้จักกันดีพระองค์หนึ่ง จึงอ่านออกเสียงได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น ตุตันคาเมน ตุตันคามุน หรือ ตุตันคามอน ก็ได้

ดังนั้นเสียงอ่านสำหรับอักษรสองเสียงและอักษรสามเสียงด้านบนจึงเป็น 

/men/ "เมน" /kA/ "คา"  /per/ "เปร" /neTer/ "เนเชร" /anex/ "อ๊ะเนค" และ /xeper/ "เคเปร" ตามลำดับ

โปรดทราบว่าปัจจุบันนี้คนอียิปต์ส่วนใหญ่ของประเทศพูดภาษาอาหรับกัน แต่ภาษาอียิปต์โบราณก็ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เป็นภาษารุ่นหลังที่เรียกว่า ภาษาคอปติก ใช้ในโบสถ์คริสต์นิกายคอปติกเชิร์ช
เหตุที่ต้องพูดถึงภาษาคอปติกเพราะมีความเชื่อมโยงกับภาษาอียิปต์โบราณในเชิงไวยากรณ์อักษรอียิปต์โบราณหรือไฮโรกลีฟมักจะเขียนโดยตัดสระทิ้งไป อักษรที่ท่านเห็นบางตัวนี้ถือว่าเป็นอักษรกึ่งสระ

เช่น อ่า อ๊ะ อู ทำให้มีอักษรภาพเป็นของตัวเอง ส่วนสระจริงที่อยู่กลางคำจะถูกตัดออกไป และเนื่องจากภาษาอียิปต์โบราณย้อนหลังไปได้เกิน 5000 ปี นักภาษาศาสตร์หรือนักอียิปต์วิทยาไม่อาจทราบได้ว่าสระที่หายไปคือสระอะไรบ้าง แต่เพื่อจะให้สามารถออกเสียงอักษรภาพเหล่านี้ได้ จึงได้มีการบัญญัติสระเทียมขึ้นมา เรียกว่า มิ้วอี (Mute e) พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ กำหนดให้สระ เอ เป็นสระเทียม สำหรับแทนที่ในจุดที่ไม่สามารถออกเสียงสระได้ในแต่ละคำ เช่นคำว่า nfr แปลว่า ดี คำนี้เขียนแบบไม่มีสระเลย เมื่อเติมสระเทียม หรือ มิ้วอี เข้าไป จะได้ว่า nefer อ่านว่า เน เฟร

ในภาษาคอปติกที่กล่าวถึงข้างต้นว่าเป็นภาษาลูกภาษาหลานของภาษาอียิปต์โบราณ
คำว่า ดี ในภาษาคอปติก ออกเสียงว่า โนฟรี (nofri)

เราจึงสันนิษฐานได้ว่า สระที่หายไปในภาษาอียิปต์โบราณอาจเป็น สระ โอ กับ สระ อี แต่คำว่า โนฟรี ในภาษาคอปติกปัจจุบันนี้ ก็ไม่อาจทราบว่า 5000 ปีก่อน ออกเสียงเช่นเดียวกันนี้ทุกประการหรือไม่ ถ้าจะมานั่งวิเคราะห์ทีละคำทีละตัว คงต้องใช้เวลามหาศาล ทำให้การศึกษาค้นคว้าล่าช้าออกไป นักภาษาศาสตร์จึงใช้ สระ เอ เทียมมาใส่ในช่องว่างระหว่างพยัญชนะที่ไม่มีสระแทน

nfr hrw

/nefer/ /heru/

/เนเฟร/ /เฮรู/

good day



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประมวลคำศัพท์อักษรอียิปต์โบราณเบื้องต้น (Basic Ancient Egyptian terms)(AE-Thai)

ประมวลคำศัพท์อักษรอียิปต์โบราณเบื้องต้น (Basic Ancient Egyptian terms)(AE-Thai) อักษรโรมันระบบ Manuel De Codage เพื่อการถอดเสียงอักษรอียิปต์...