อักษรสองเสียง (Biliterals) คือ อักษรหนึ่งตัวแทนเสียง 2 เสียง หรือเสียงพยัญชนะผสมอักษรกึ่งสระ หรืออักษรกึ่งสระ 2 เสียงก็ได้
อักษร Biliterals เกิดจากการผสมเสียงระหว่างอักษร Monoliterals สองตัว และสร้างเป็นอักษรตัวใหม่ขึ้นมา เช่น
หากท่านสังเกต ดีๆ อักษรอียิปต์โบราณบางตัวข้างต้นจะมีเครื่องหมายจุดอยู่ด้านล่าง
เครื่องหมายจุดนั้น บ่งบอกว่า อักษรตัวนั้นมีลมออกมากกว่าปกติ
ภาษาไทยเรามีข้อจำกัดบางประการในการใช้ออกเสียงระบบเสียงในภาษาอียิปต์โบราณ เพราะอักษรไทยมีเสียงสูงต่ำในอักษรแต่ละตัวด้วย และอักษรไทยถ้าสังเกตให้ดี ก ไก่ กับ ค ควาย จะมีเสียงลมออกน้อยกว่า ข ไข่ ในอักษร Biliterals บางตัว เช่น x กับ A พิมพ์ใหญ่ ออกเสียงว่า xA /ข่า/ เพราะ x แทนเสียง /ขะ/ ส่วน A พิมพ์ใหญ่ แทนเสียง /อ่า/ คือ เสียง ที่ยาวกว่า เสียง /อะ/ แต่ก็สั้นกว่าเสียง /อา/
แต่ k กับ A พิมพ์ใหญ่ ก็ออกเสียงว่า /ข่า/ เหมือนกัน แต่ไม่มีเสียงลมออกมากเหมือนตัว x ผู้เขียนจะเขียนเหมือนกันก็เกรงว่าผู้อ่านจะออกเสียงเหมือนกันเลยเขียนว่า /คา/ แล้วทำเครื่องหมายดาวกำกับไว้
ส่วน ช ช้าง ที่มีจุดข้างล่าง คือ เสียง /ช/ ที่มีลมออกโดยไม่กักเสียงไว้ คล้ายกับเสียง ช ช้างในคำว่า sheep ที่แปลว่า แกะ ในภาษาอังกฤษ
ตัว H พิมพ์ใหญ่ หรือเสียง /ฮ/ นกฮูกมีจุด คือ มีลมออกมากกว่าปกติ เช่น b กับ H พิมพ์ใหญ่ ออกเสียงว่า /เบ/ แล้วมีลมออกมากกว่าปกติ จะออกว่า /เบ เหะ/ ก็เกือบได้
ส่วนตัว i,j ที่ใช้แทนเสียง /ยิ/ นั้น บางตำราจะออกเสียงเป็น /ยะ/ เช่น ในหนังเดอะมัมมี่รีเทิร์น
นักอียิปต์วิทยาที่เป็นผู้สังเคราะห์บทสนทนาภาษาอียิปต์โบราณที่นักแสดงใช้พูดกันในหนังเดอะมัมมี่รีเทิร์น ก็ใช้เสียง /ยะ/ ในคำว่า ยันปู ซึ่งหมายถึง เทพ อานูบิส หรือเทพเศียรสุนัข
ฟาโรห์แนะนำเจ้าหญิงกับข้าราชสำนักในท้องพระโรงว่า เจ้าหญิงนาฟรีตีรี เป็นผู้พิทักษ์กำไรอานูบิส
คำว่า ยันปู ที่ฟาโรห์ตรัสออกมา หมายถึง เทพอานูบิส แต่ในตำราอื่นอย่างที่ผู้เขียนนำมาเสมอท่านนี้ จะออกเสียงว่า /ยินปู/ ก็ไม่ผิด บางตำรายังเขียนว่า อันปู หรือ อินปู ก็มี
แต่เมื่อยึดตามระบบ Manuel De Codage ที่กำหนดให้อักษร i เป็นพยัญชนะกึ่งสระ จึงควรจะออกเสียงว่า /ยิ/ เมื่ออยู่ต้นคำ และเมื่ออักษร i ตัวนี้ไปอยู่กลางคำก็จะกลายเป็นเสียง /อิ/ จึงควรออกเสียง i ว่า /ยิ/ ด้วยความที่เป็นกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น