คำนามในภาษาอียิปต์โบราณ
คำนาม ( Nouns ) หมายถึงคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ สถานที่ คุณสมบัติ สภาพ อาการ การกระทำ ความคิด ความรู้สึก ทั้งที่มีรูปร่างให้มองเห็น และไม่มีรูปร่าง
เพศของคำ (Gender)
ภาษาอียิปต์โบราณแบ่งคำนามออกเป็น 2 เพศ คือ เพศชายและเพศหญิง
คำที่เป็นนามธรรมมักจะเป็นเพศหญิง
คำที่เป็นเพศหญิงจะลงท้ายด้วยตัว /t/ อย่างไรก็ตามเพศชายที่ลางท้ายด้วย t ก็มี เช่น
|
/Ax.t/ = ขอบฟ้า (คำนามเพศหญิง) |
|
/xt/ = ไม้ (คำนามเพศชาย) |
สังเกตว่าในอักษรโรมันที่ใช้ถอดเสียงอักษรไฮโรกลีฟจะใส่เครื่องหมายจุด (.) ก่อนตัว t อย่างไรก็ตามในบางตำราก็ไม่ได้ใส่จุดเพื่อแยกอย่างชัดเจน
ตัวอย่างคำนามและการแบ่งเพศ
สังเกตว่าในตัวอย่างนี้มีอักษร transliteration (อักษรโรมันแทนการถอดเสียงจากอักษรไฮโรกลีฟ) สองแบบ จากหนังสือ Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs ของ James P. Allen และระบบ Manuel De Codage เพื่อแสดงการออกเสียงเทียบสองแบบ
พจน์ (Number)
พจน์หรือจำนวนนับของนาม ในภาษาอียิปต์โบราณแบ่งออกเป็น 3 พจน์ คือ
เอกพจน์ (Singular) ทวิพจน์ (Dual) และพหูพจน์ (Plural)
ดูได้จากตัวอักษรที่ลงท้ายคำนามที่เป็นรากคำดังในแผนผัง
เพศ เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์
ชาย - .wi .w
หญิง .t .ti .wt
ตัวอย่าง
รากคำศัพท์คือ /sn/
ช. sn snwi snw พี่ชาย/น้องชาย
ญ. snt snti snwt พี่สาว/น้องสาว
รากคำศัพท์คือ /nTr/
ช. nTr nTrwi nTrw เทพ
ญ. nTrt nTrti nTrwt เทพี
คำนำหน้านาม (Article)
ภาษาอียิปต์โบราณไม่มีคำนำหน้านามเหมือนในภาษาอังกฤษ (a, an, the) แต่มีคำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นคำนำหน้านาม ได้แก่
เสียงอ่าน..............เพศ........พจน์.......คำแปล
/pA/.....................(ช.)........เอก.------นี้
/tA/......................(ญ.).......เอก.------นี้
/nA/.....................(-).........พหู.------เหล่านี้ (ทั้งสองเพศ)
tA snt /ตา เซเนต/ พี่สาว/น้องสาวคนนี้
คำเชื่อม (Connection / Conjunction)
คำเชื่อมได้แก่คำว่า "และ/กับ" เช่น เกลือและพริกไทย ไก่กับไข่ และคำว่า "หรือ" เพื่อแสดงว่าคำนามสองคำไม่ใช่พวกเดียวกัน
จารึกอักษรอียิปต์โบราณมักจะไม่ปรากฏคำว่า "และ" การเชื่อมคำทำได้โดยการนำคำมาวางเรียงกัน เช่น
/t Hnqt/ ขนมปังและเบียร์ (ตามตัวอักษรคือ ขนมปัง เบียร์)
แต่บางครั้งมีการใช้คำว่า /Hna/ "พร้อมด้วย" หรือ /Hr/ "บน" เพื่อเชื่อมคำนามสองคำ เช่น
/HAti Hna smA/ "หัวใจและปอด" (หัวใจพร้อมด้วยปอด)
/Da Hr Hyt/ "ลมพายุและฝน" (ลมพายุบนฝน)
การแสดงความเป็นเจ้าของ (Possension)
ภาษาอียิปต์โบราณมีวิธีแสดงการเป็นเจ้าของสองวิธี
1. โดยตรง (Direct genitive) คือนำคำนามสองคำมาวางเรียงต่อกัน คำนามที่เป็นเจ้าของคือคำที่สอง
ตัวอย่างเช่น
/r is/ ประตูสุสาน (/r/ "ปาก/ประตู" /is/ "สุสาน")
/Hmt wab/ ภรรยานักบวช (/Hmt/ "ภรรยา" /wab/ "นักบวช/พระ")
/sA si/ ลูกชายของชายคนหนึ่ง (/sA/ "ลูกชาย" /si/ "ผู้ชาย")
/nswt tAwi/ ราชาแห่งอียิปต์ (/nswt/ "ราชา" /tAwi/ อียิปต์ (สองแผ่นดิน))
2. โดยอ้อม (Indirect genitive) คล้ายกับคำว่า "ของ" ใช้เพื่อเชื่อมคำนามสองคำเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ภาษาอียิปต์โบราณมีการใช้คำคุณสรรพเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสามรูปแบบ ได้แก่
/n/ ใช้เมื่อคำนามตัวแรกเป็นเอกพจน์เพศชาย
/nw/ ใช้เมื่อคำนามตัวแรกเป็นพหูพจน์หรือทวิพจน์
/nt/ ใช้เมื่อคำนามตัวแรกเป็นเพศหญิง (ไม่กำหนดพจน์)
ตัวอย่างเช่น
/sA n si/ ลูกชายของชายคนหนึ่ง
/sAw nw si/ ลูกชายหลายคนของชายคนหนึ่ง
/swHt nt niw/ ไข่ของนกกระจอกเทศ
ภาษาอียิปต์โบราณในยุคหลังๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คำว่า "ของ" หรือ "ที่เป็นของ" ที่เคยมีการใช้ใน 3 รูปแบบตามตัวอย่างด้านบนนี้ก็มีการลดรูปลง โดยเหลือเพียง /n/ เท่านั้น ไม่มีการใช้ /nw, nt/ อีกต่อไป
ตัวอย่างเช่น
/aAw n sxti/ ลา (หลายตัว) ของชาวนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น