คำสรรพนามในภาษาอียิปต์โบราณ
คำสรรพนาม (Pronouns)
คำสรรพนามคือคำที่ใช้แทนคน สัตว์ หรือสิ่งของ
บุรุษสรรพนาม (Personal Pronouns)
บุรุษสรรพนามแบ่งออกเป็น 3 ประเภท และมีรูปแบบและการใช้งานที่ต่างกัน
1. สรรพนามอิสระ (Independent pronouns)
2. สรรพนามที่ไม่อิสระ (Dependent pronouns)
3. สรรพนามแบบต่อท้าย (Suffix pronouns)
1. สรรพนามอิสระ (Independent pronouns)
การนำไปใช้ในประโยค
สรรพนามอิสระมักจะอยู่ต้นประโยคในประโยคที่ไม่มีคำกริยา
ตัวอย่าง 1
/ink HqA pwnt/ ฉัน(คือ)ผู้ปกครองของปุนต์ |
การนำไปใช้ในประโยค
1. สรรพนามไม่อิสระเป็นบุรุษสรรพนามที่ขึ้นอยู่กับคำศัพท์หรือวลีที่นำมาก่อนหน้า
สรรพนามไม่อิสระจะไม่ใช้ขึ้นต้นประโยค แต่ก็สามารถแยกออกมาจากคำที่นำมาก่อนหน้าได้
ตัวอย่าง 1
/hAb.k wi/ คุณส่งฉัน |
ตัวอย่าง 2
/hAb wi nsw/ พระราชาส่งฉัน |
2. ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกริยา ที่มีภาคแสดงของกริยาวิเศษณ์ เนื่องจากสรรพนามไม่อิสระจะขึ้นอยู่กับคำที่นำมาก่อนหน้า ดังนั้นจึงต้องอยู่ตามหลังคำช่วยในประโยค (ตัวอย่างด้านล่างนี้คือ mk)
ตัวอย่าง 1
/mk wi m HqA pwnt/ ดูก่อนฉันคือผู้ปกครองของปุนต์ (mk ดูก่อน/ดูซิ เป็นคำช่วยที่นำหน้า wi (ฉัน)) |
3. สรรพนามแบบต่อท้าย (Suffix pronouns)
การนำไปใช้ในประโยค
สรรพนามแบบต่อท้ายมักจะอยู่ต่อท้ายคำที่มาก่อนหน้า ซึ่งอาจเป็นคำนามหรือกริยาก็ได้
สรรพนามแบบต่อท้ายไม่สามารถอยู่ต้นประโยคได้ ในการเขียนแบบถอดเสียงอาจมีการใช้เครื่องหมาย = หรือจุด (.) เพื่อแยกจากคำที่นำมาก่อนหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้แต่งตำราเป็นผู้กำหนด
เช่น sDm=i หรือ sDm.i / pr=i หรือ pr.i
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคที่มีกริยา
ตัวอย่าง 1
/sDm.i xrw/ ฉันได้ยินเสียง |
ตัวอย่าง 2
/rdi.n.f wi Hr tA/ เขาวางฉันบนพื้นดิน |
ตัวอย่าง 2
Hmt.f nfrt ภรรยาคนสวยของเขา (ภรรยาของเขาสวย) |
5. ใช้ร่วมกับคำบุพบทที่อยู่นำหน้า
ตัวอย่างเช่น
/iw.f Hna.i/ เขาอยู่กับฉัน (เขาอยู่พร้อมกับฉัน) |
สรรพนามชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns)
สรรพนามชี้เฉพาะ คือ สรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าใช้แทนสิ่งใด เช่น นี้ นั้น เหล่านี้ เหล่านั้น
ภาษาอียิปต์โบราณมีสรรพนามชี้เฉพาะ 4 ประเภท แต่ละประเภทมี 3 รูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้
เอกพจน์ เพศชาย เอกพจน์ เพศหญิง ไม่ระบุเพศ
pn นี้/นั้น tn นี้/นั้น nn นี้/นั้น
pw นี้/นั้น tw นี้/นั้น nwนี้/นั้น
pf/pfA นั้น tf/tfA นั้น nf/nfA นั้น
pA นี้/นั้น tA นี้/นั้น nA นี้/นั้น
ข้อสังเกต: เพศชายจะขึ้นต้นด้วย /p/ เพศหญิงขึ้นต้นด้วย /t/ และไม่ระบุเพศขึ้นต้นด้วย /n/
และแบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยการเติม /p, t, n/ หน้า /-n, -w, -f หรือ -fA, A/
ประเภทที่ 1
ประเภทที่ 2
ประเภทที่ 3
ประเภทที่ 4
การนำไปใช้ในประโยค
1. ใช้แบบอิสระโดยไม่มีคำนาม เช่น
/Dd.n.f nn/ เขาพูดสิ่งนี้ |
/ptr nA/ อะไรนั่น (นั่นคืออะไร) |
2. ใช้กับคำนาม ตัวอย่างเช่น
เอกพจน์ เพศชาย
/nTr pn/ เทพนี้ เทพนั้น (ภาษาไทย เทพองค์นี้/เทพองค์นั้น)
/nTr pw/ เทพนี้ เทพนั้น
/nTr pf/ หรือ /pf nTr/ เทพนั้น
/pA nTr/ เทพนี้ เทพนั้น
เอกพจน์ เพศหญิง
/nTrt tn/ เทพีนี้ เทพีนั้น (ภาษาไทย เทพีองค์นี้/เทพีองค์นั้น)
/nTrt tw/ เทพีนี้ เทพีนั้น
/nTrt tf/ หรือ /tf nTrt/ เทพีนั้น
/tA nTrt/ เทพีนี้ เทพีนั้น
พหูพจน์ เพศชาย
/nn n nTrw/ เทพเหล่านี้ เทพเหล่านั้น
/nw n nTrw/ เทพเหล่านี้ เทพเหล่านั้น
/nfA n nTrw/ เทพเหล่านั้น
/nA n nTrw/ เทพเหล่านี้ เทพเหล่านั้น
พหูพจน์ เพศหญิง
/nn n nTrwt/ เทพีเหล่านี้ เทพีเหล่านั้น
/nw n nTrwt/ เทพีเหล่านี้ เทพีเหล่านั้น
/nfA n nTrwt/ เทพีเหล่านั้น
/nA n nTrwt/ เทพีเหล่านี้ เทพีเหล่านั้น
ข้อสังเกต
1. pn/tn และ pw/tw จะตามหลังคำนามเสมอ
2. pA และ tA จะนำหน้าคำนามเสมอ
3. pf/tf หรือ pfA/tfA อาจตามหลังหรือนำหน้าคำนามก็ได้
4. คำพหูพจน์จะใช้รูปแบบของ n- นำหน้าคำนาม และมี n ตามหลังเป็นตัวเชื่อม (แปลว่า ของ) ตัวอย่างเช่น
/nn n nTrw/ เทพเหล่านี้ เทพเหล่านั้น (แปลตามตัวว่า เหล่านี้ ของ เทพทั้งหลาย)
บางทีใช้รูปคำนามเป็นเอกพจน์แต่แปลความหมายอย่างพหูพจน์ (เรื่องนี้ยังไม่กล่าวถึงในที่นี้หากสนใจขั้นลึกโปรดดูในตำราของ JP Allen)
5. pA, tA และ nA ปกติจะแปลว่า นี้ นั้น เหล่านี้ เหล่านั้น ในบางครั้งโดยเฉพาะในยุคหลังๆ ใช้แบบเดียวกับคำนำหน้านามอย่างในภาษาอังกฤษ คือ "the" และไม่ต้องแปล และนิยมใช้ในภาษาพูด
ตัวอย่างเช่น
/pA mXr/ คลังเก็บของ (the warehouse) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น